การเตรียมตัวเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น
สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิ และ ฤดูกาล
ฤดูร้อน (ช่วงอุณหภูมิ : 16° – 30°C) ฤดูร้อนเริ่มต้นด้วยสายฝนในเดือนมิถุนายน ส่วนทั้งเดือนกรกฎาคมและบางส่วนของเดือนสิงหาคมนั้นจะมีอากาศร้อนชื้น
การแต่งกาย สวมเสื้อแขนสั้นหรือเสื้อแขนกุดที่ทำมาจากผ้าฝ้ายหรือผ้าลินิน สามารถสวมเสื้อโค้ทบาง ๆ และหมวกเพื่อปกป้องผิวของคุณจากความร้อน
กระเป๋าเดินทาง
– กระเป๋าใบใหญ่ ที่โหลดลงใต้ท้องเครื่องบิน (ควรมีล้อลาก/เข็นได้) กระเป๋าสามารถโหลดลงใต้ท้องเครื่องบินได้ท่านละ 1 ชิ้น ไม่เกินกำหนดของแต่ละสายการบิน ห้ามใส่ ของมีค่า , คอมพิวเตอร์ , โน้ตบุ้ค , แล็ปท็อป , แบตเตอรี่สำรอง และ อุปกรณ์ใดๆที่มีแบตเตอรี่ ลงในกระเป๋าใบนี้ หากมีควรถือขึ้นเครื่อง
– กระเป๋าใบเล็ก สำหรับถือขึ้นเครื่องบินได้ โดยมีน้ำหนักไม่เกิน 7 กิโลกรัม ห้ามนำของเหลวเกิน 100 ML. , ของมีคม , วัตถุไวไฟ นำขึ้นเครื่อง
กรุณาอย่าพกของเหลวทุกชนิดที่เกิน 100 มิลลิลิตร ถือขึ้นเครื่อง และห้ามนำแบตเตอรี่สำรอง หรือ POWER BANK ใส่สัมภาระเช็คอิน แต่สามารถถือขึ้นเครื่องได้ โดยมีความจุไฟฟ้าไม่เกิน 32,000 MAH ได้ไม่เกิน 2 ชิ้นต่อคน กรณีน้ำหนักเกินกว่าสายการบินกำหนด อาจต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มตามจริงที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่สายการบินเท่านั้น
** ท่านไม่ควรถือเงินสดออกนอกประเทศ หรือ เข้าประเทศใดๆ เกิน 2,000 USD. หากเกินจำนวนที่กำหนด จำเป็นจะต้องสำแดงต่อศุลการ ด่านตรวจคนเข้าเมือง **
สวัสดีตอนเช้า = โอะฮาโย โกไซอิมัส สวัสดีตอนบ่าย = คอนนิจิวะ
สวัสดีตอนกลางคืน = คอนบังวะ ราตรีสวัสดิ์ = โอะยะซุมินะไซ
ลาก่อน =ซา-โย-นา-ระ ขอบคุณมาก = อะริกะโตะ โกะไซอิมัส
ขอบคุณ = อะริงาโตะ ไม่เป็นไร = โดอิตะชิมะชิเตะ
ขอโทษ (รบกวน) = ซุมิมะเซง/ซุยมะเซง
ขอโทษ = โกเมงนาไซ ยินดีที่ได้รู้จัก = ฮะจิเมะมาชิเตะ
บาย, เจอกันใหม่ = จา มาตาเนะ นอนหลับฝันดี = โอะยาสุมินาไซ
ขอโทษ = ซูมิ มาเซ็น ใช่ = ไฮ
หมายเลข
1 ICHI อิชิ 6 ROKU โระกุ
2 NI นิ 7 SHICHI ฌิชิ
3 SAN ซัน 8 HACHI ฮาชิ
4 SHI ฌิ 9 KYU คีว
5 GO โงะ 10 JU จู
ควรเตรียมยาอะไรบ้าง เมื่อเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ เพราะด้วยสภาพอากาศในต่างประเทศ แตกต่างจากบ้านเรา หากไปในที่ที่อากาศค่อนข้างเปลี่ยนแปลงบ่อย อาจทำให้เราปรับตัวไม่ทัน ทำให้เราเจ็บป่วย ไม่สบายได้ นอกเหนือไปจากสภาพอากาศแล้ว ก็อาจจะมีเรื่องของอาหารการกิน อาจมีบางสถานที่ที่เราไม่เคยไป อาหารไม่ถูกปากหรือถูกท้องบ้าง ฉะนั้นควรพกยาไปด้วย เพื่อความอุ่นใจ เพื่อให้ท่านท่องเที่ยวได้อย่างสนุกตลอดการเดินทาง โดยจะจำแนกยาแต่ละประเภท ที่ควรเตรียมดังนี้
1. ยาแก้ปวด ลดไข้ หรือ มีไข้ระหว่างเดินทาง
2. ยานวดหรือแปะเพื่อคลายความเมื่อยล้า
3. ยาแก้เมารถ เมาเรือ ขณะโดยสารยานพาหนะ หรือหากว่ากลัวว่าระหว่างเดินทางจะมีอาการเมารถ เมาเรือก็ควรรับประทานยาก่อนเดินทางอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง
4. ยาแก้ท้องเสีย / จุกเสียด อาการด้านระบบทางเดินอาหารที่มักเกิดยามท่องเที่ยว ส่วนใหญ่คือ ท้องเสีย จุกเสียด
5. ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก เช่น ยาลดน้ำมูก EPHEDRINE ลดอาการคั่งของน้ำมูก , ยาแก้แพ้ FEXOFENADINE บรรเทาอาการ คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล คันตา และอาการลมพิษ ที่อาจเป็นช่วงสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ยาบางชนิดต้องมีใบรับรองแพทย์สั่งจ่ายยาให้ ควรเตรียมไปด้วย
6. ยาโรคประจำตัวที่ขาดไม่ได้
(กรณีที่ยามีปริมาณมากผิดปกติ หรือ กังวลว่าจะมีปัญหาเวลาเข้า – ออกเมือง ให้เตรียมเอกสารใบรับรองแพทย์ไปด้วยว่าคุณป่วยเป็นอะไร ยาที่พกไปมีอะไรบ้าง) เพื่อแสดงให้เจ้าหน้าที่เข้าใจถึงความจำเป็นในการพกพายาในการเดินทางนั้นๆ
7. ยาอื่นๆ ที่สามารถรักษาอาการบาดเจ็บเบื้องต้น
รหัส ประเทศญี่ปุ่น คือ +81 โรงแรมมี WIFI ฟรีให้บริการบริเวณล็อบบี้ ตามสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมี WIFI ฟรีให้บริการ
1. หลักฐานการทำงาน เช่น บัตรพนักงาน นามบัตร จดหมายรับรองการทำงานภาษาอังกฤษ (กรณีเดินทางคนเดียว)
2. หากเป็นหนังสือเดินทางใหม่ ควรนำหนังสือเดินทางเล่มเก่าติดตัวไปด้วย
3. สิ่งที่ยืนยันว่าท่านจะเดินทางไป ประเทศญี่ปุ่น เพื่อท่องเที่ยวจริงๆ และจะต้องกลับมาปฏิบัติงานที่ประเทศไทยแน่นอน เช่น หนังสือรับรองการทำงาน บัตรพนักงาน เป็นต้น
4. หลักฐานการเงิน ในระหว่างการท่องเที่ยวประเทศในต่างประเทศ ควรที่จะนำเงินสดติดตัวไปด้วยประมาณ 600 เหรียญสหรัฐ (USD) หรือ ประมาณ 20,000 บาท สำหรับการเดินทาง 5-6 วัน (กรณีไม่มีบัตรเครดิตการ์ด) หากมีบัตรเครดิตการ์ด เช่น VISA CARD , AMERICAN EXPRESS , DINNERS CLUB หรือ MASTER CARD ควรนำติดตัวไปด้วย หรือสิ่งที่ยืนยันว่าท่านสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างพำนักในต่างประเทศได้
5. ใบรับรองสถานศึกษาหากท่านยังอยู่ในระหว่างการศึกษา หรือบัตรนักศึกษา และควรเดินทางกับผู้ปกครองที่มีนามสกุลเดียวกันจะดีที่สุด
6. กรณีผู้เยาว์ อายุต่ำกว่า 20 ปี เดินทางกับบุคคลอื่น (คนละนามสกุล) หรือ เดินทางไปกับบุคคลอื่น จำเป็นต้องถือ หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ที่ออกโดยสำนักงานเขตท้องถิ่นที่อยู่อาศัย โดยมีผู้ปกครอง (นามสกุลเดียวกัน) ลงนามยินยอมต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมตราประทับ (ฉบับจริง)
7. ควรแต่งกายด้วยชุดสุภาพ มิดชิด ลักษณะเหมือนนักท่องเที่ยวทั่วไป ไม่ควรสวมรองเท้าแตะ
8. ตั๋วเครื่องบินขาไป และ กลับ (ทางบริษัทฯ จัดเตรียมให้ทุกท่านในซองเอกสาร ณ วันเดินทาง)
9. ชื่อ ที่อยู่ (โรงแรม) และหมายเลขติดต่อในระหว่างที่พำนักในประเทศต่างประเทศ (ทางบริษัทฯ จัดเตรียมให้ทุกท่านในซองเอกสาร ณ วันเดินทาง)
10. โปรแกรมการท่องเที่ยว และ สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ผู้เดินทางควรทราบข้อมูลเบื้องต้นเพราะเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองอาจสุ่มถามข้อมูลได้
เบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน 1. เบอร์ตำรวจ : 110
2. รถดับเพลิง : 119
3. JAPAN HELPLINE : 0120 461 997 (สื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ และให้บริการ 24 ช.ม.)
ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย การท่าอากาศยานเริ่มใช้ข้อจำกัดบางอย่างเพื่อกำหนดปริมาณของเหลว สเปรย์ เจล หรือเรียกว่า “LAG” ที่ผู้โดยสารอาจจะใส่รวมเข้าไว้ในสัมภาระพกพาของเที่ยวบินนานาชาติ
– วัตถุกลุ่ม LAG ซึ่งได้แก่เครื่องดื่ม ครีม น้ำหอม สเปรย์ เจล และยาสีฟันจะต้องถูกเก็บอยู่ในภาชนะที่มีความจุไม่เกิน 100 มล./มก.
– ภาชนะใส่ LAG ทุกชิ้นควรมีขนาดพอดีไม่คับเกินไปสำหรับถุงพลาสติกใสแบบซีลได้
– อนุญาตให้ผู้โดยสารแต่ละท่านมีถุงพลาสสติกใสแบบซีลปิดได้เพียงหนึ่งใบเท่านั้น โดยต้องมีปริมาตรไม่เกินหนึ่งลิตรและขนาดไม่ใหญ่กว่า 20 X 20 ซ.ม.
อนุญาตให้ใส่สิ่งของต่อไปนี้ไว้ในสัมภาระพกได้
– ยา ในปริมาณที่เหมาะสมกับการเดินทางของท่าน เช่นชุดยาแก้เบาหวาน
– อาหารทารก ครีมและของเหลวที่จำเป็นสำหรับการเดินทาง
– เครื่องสำอางที่ไม่ใช่ของเหลว เช่น ก้อนระงับกลิ่นกาย ลิปสติก เป็นต้น
– อาหารทะเลหรือเนื้อสัตว์สด/แช่แข็ง ต้องแพ็คมาอย่างเหมาะสมเท่านั้น
การเตรียมตัวเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น